วันศุกร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2558

การจัดการเรียนรู้แบบอุปนัย (Induction Method)

เว็ปไซต์เพื่อการเรียนรู้ของครูคณิตศาสตร์ (https://sites.google.com/site/khunkrunong/1) ได้กล่าวไว้ว่า
แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบอุปนัย
กระบวนการที่ผู้สอนจากรายละเอียดปลีกย่อย  หรือจากส่วนย่อยไปหาส่วนใหญ่  หรือกฎเกณฑ์  หลักการ  ข้อเท็จจริงหรือข้อสรุป โดยการนำเอาตัวอย่างข้อมูล เหตุการณ์ สถานการณ์หรือปรากฏการณ์ ที่มีหลักการแฝงอยู่มาให้ผู้เรียนศึกษา  สังเกต  ทดลอง  เปรียบเทียบหรือวิเคราะห์จนสามารถสรุปหลักการหรือกฎเกณฑ์ได้ด้วยตนเอง
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
การจัดการเรียนรู้แบบอุปนัยมีขั้นตอนสำคัญดังต่อไปนี้ 
1. ขั้นเตรียมการ เป็นการเตรียมตัวผู้เรียน ทบทวนความรู้เดิมหรือปูพื้นฐานความรู้ 
2. ขั้นเสนอตัวอย่าง เป็นขั้นที่ผู้สอนนำเสนอตัวอย่างข้อมูล สถานการณ์ เหตุการณ์ ปรากฏการณ์ หรือแนวคิดให้ผู้เรียนได้สังเกตลักษณะและคุณสมบัติของตัวอย่างเพื่อพิจารณาเปรียบเทียบสรุปเป็นหลักการ แนวคิด หรือกฎเกณฑ์ ซึ่งการนำเสนอตัวอย่างควรเสนอหลายๆตัวอย่างให้มากพอที่ผู้เรียนสามารถสรุปเป็นหลักการหรือหลักเกณฑ์ต่างๆได้
3. ขั้นเปรียบเทียบ เป็นขั้นที่ผู้เรียนทำการสังเกต ค้นคว้า วิเคราะห์ รวบรวม เปรียบเทียบความคล้ายคลึงกันขององค์ประกอบในตัวอย่าง แยกแยะข้อแตกต่าง มองเห็นความสัมพันธ์ในรายละเอียดที่เหมือนกัน ต่างกันในขั้นนี้หากตัวอย่างที่ให้แก่ผู้เรียนเป็นตัวอย่างที่ดี ครอบคลุมลักษณะหรือคุณสมบัติสำคัญๆของหลักการ ทฤษฎีก็ย่อมจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถศึกษาและวิเคราะห์ได้ตรงตามวัตถุประสงค์ได้อย่างรวดเร็ว แต่หากผู้เรียนไม่ประสบความสำเร็จ ผู้สอนอาจให้ข้อมูลเพิ่มเติม หรือใช้วิธีกระตุ้นให้ผู้เรียนได้คิดค้นต่อไป โดยการตั้งคำถามกระตุ้นแต่ไม่ควรให้ในลักษณะบอกคำตอบ เพราะวิธีสอนนี้มุ่งให้ผู้เรียนได้คิด ทำความเข้าใจด้วยตนเอง ควรให้ผู้เรียนได้ร่วมกันคิดวิเคราะห์เป็นกลุ่มย่อย เพื่อจะได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน โดยเน้นให้ผู้เรียนทุกคนมีส่วนร่วม ในการอภิปรายกลุ่มอย่างทั่วถึง และผู้สอนไม่ควรรีบร้อนหรือเร่งเร้าผู้เรียนจนเกินไป
4. ขั้นกฎเกณฑ์ เป็นการให้ผู้เรียนนำข้อสังเกตต่างๆ จากตัวอย่างมาสรุปเป็นหลักการ กฎเกณฑ์หรือนิยามด้วยตัวผู้เรียนเอง
5. ขั้นนำไปใช้ ในขั้นนี้ผู้สอนจะเตรียมตัวอย่างข้อมูล สถานการณ์ เหตุการณ์ ปรากฏการณ์หรือความคิดใหม่ๆ ที่หลากหลายมาให้ผู้เรียนใช้ในการฝึกความรู้ ข้อสรุปไปใช้ หรือ ผู้สอนอาจให้โอกาสผู้เรียนช่วยกันยกตัวอย่างจากประสบการณ์ของผู้เรียนเองเปรียบเทียบก็ได้ เป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในชีวิตประจำวัน และจะทำให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจอย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น รวมทั้งเป็นการทดสอบความเข้าใจของผู้เรียนว่าหลักการที่ได้รัยนั้น สามารถนำไปใช้แก้ปัญหาและทำแบบฝึกหัดได้หรือไม่หรือเป็นการประเมินว่าผู้เรียนได้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่นั่นเอง 
ประโยชน์
1. เป็นวิธีการที่ทำให้ผู้เรียนสามารถค้นพบความรู้ด้วยตนเอง ทำให้เกิดความเข้าใจและจดจำได้นาน
2. เป็นวิธีการที่ฝึกให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะการสังเกต คิดวิเคราะห์ เปรียบเทียบ ตามหลักตรรกศาสตร์และหลักวิทยาศาสตร์ สรุปด้วยตนเองอย่างมีเหตุผลอันจะเป็นเครื่องมือสำคัญของการเรียนรู้ ซึ่งใช้ได้ดีกับการวิชาวิทยาศาสตร์
3. เป็นวิธีการที่ผู้เรียนได้ทั้งเนื้อหาความรู้ และกระบวนการซึ่งผู้เรียนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการเรียนรู้เรื่องอื่นๆได้

http://innovation.kpru.ac.th/web18/551121827/innovation/index.php/2014-02-05-03-42-39 ได้รวบรวมและระบุไว้ว่า
วิธีสอนโดยใช้การอุปนัย
            วิธีสอนโดยใช้การอุปนัย  หมายถึง  เป็นการสอนรายละเอียดปลีกย่อยไปหากฎเกณฑ์  หรือสอนจากตัวอย่างไปหากฎเกณฑ์  นั่นคือ  นักเรียนได้เรียนรู้ในรายละเอียดก่อนแล้วไปสรุป  ตัวอย่างของวิธีสอนนี้  ได้แก่  การให้โอกาสนักเรียนในการศึกษาค้นคว้าสังเกต  ทดลอง  เปรียบเทียบแล้วพิจารณาค้นหาองศ์ประกอบที่เหมือนกัน  หรือคล้ายคลึงกันจากตัวอย่างต่างๆเพื่อนำมาเป็นข้อสรุป
1. ขั้นเตรียมนักเรียน เป็นการเตรียมความรู้และแนวทางในการปฏิบัติกิจกรรมของนักเรียน
2. ขั้นเสนอตัวอย่าง ให้นักเรียนเปรียบเทียบและสรุปกฎเกณฑ์ตัวอย่างควรเสนอหลายตัวอย่าง
3. ขั้นหาองค์ประกอบรวม เป็นการให้นักเรียนมีโอกาสพิจารณาความคล้ายคลึงกันขององค์ประกอบจากตัวอย่างเพื่อเตรียมสรุปกฎเกณฑ์
4. ขั้นสรุปข้อสังเกตต่างๆ เป็นการสรุปข้อสังเกตต่างๆจากตัวอย่างเป็นกฎเกณฑ์ นิยาม หลักการ ด้วยตัวนักเรียน
 5. ขั้นนำไปใช้ เป็นขั้นนำข้อสรุปหรือกฎเกณฑ์ที่ได้จากการทดลองหรือสิ่งที่เข้าใจไปใช้ในสถานการณ์จริง
วิธีสอนแบบอุปนัยมีข้อดีอย่างไร
1. นักเรียนสามารถเข้าใจในรายละเอียด และหาข้อสรุปได้อย่างชัดเจนจนชำนาน
2. นักเรียนได้รับการฝึกทักษะการคิดตามหลักการ เหตุผล และหลักวิทยาศาสตร์
3. นักเรียนเข้าใจวิธีการแก้ปัญหาและสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
วิธีสอนแบบอุปนัยมีข้อสังเกตอย่างไร
1. ในการสอนแต่ละขั้น ครูควรให้โอกาสนักเรียนคิดอย่างอิสระ
2. ครูควรสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ที่ไม่เป็นทางการเพื่อลดความเครียดและเบื่อหน่าย
3. วิธีสอนแบบอุปนัยจะให้ผลสัมฤทธิ์สูงถ้าครูสร้างความเข้าใจทุกขั้นตอนอย่างดีก่อนสอน
วิธีการสอนโดยใช้การอุปนัย (Induction)
วิธีการสอนโดยใช้การอุปนัย คือกระบวนการที่ผู้เรียนสรุปหลักการจากตัวอย่างด้วยตนเอง ดังนี้
1. มีวัตถุประสงค์ที่มุ่งช่วยให้ผู้เรียนฝึกการฝึกการคิดวิเคราะห์แล้วเกิดการเรียนด้วยตนเอง
2. องค์ประกอบสำคัญของวิธีสอน ได้แก่ ตัวอย่างย่อย การวิเคราะห์ตัวอย่าง เพื่อหา หลักการ และสรุปหลักการนำไปใช้ในสถานการณ์อื่น ๆ 
3. ขั้นตอนสำคัญของการสอน ได้แก่ การยกตัวอย่างหรือสถานการณ์ ให้ผู้เรียนศึกษา และวิเคราะห์ สรุปเป็นหลักการ 
4. เทคนิคการใช้วิธีการสอนนี้ให้มีประสิทธิภาพ ได้แก่ การเตรียมตัวอย่าง ให้ผู้เรียน ศึกษาวิเคราะห์ แล้วสรุปและนำข้อสรุปไปใช้ 
5. วิธีสอนนี้มีทั้งข้อดีและข้อเสีย กล่าวคือ ข้อดี เช่น ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะการคิด วิเคราะห์ ค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง และนำไปใช้ประโยชน์ในการเรียนรู้เรื่องอื่นๆ ได้
ข้อเสีย เช่น ใช้เวลาสอนมาก อาจเกิดปัญหากับผู้เรียนที่ขาดทักษะการคิดและการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม

การสอนแบบอุปนัย (Inductive Method) เป็นการสอนจากรายละเอียดปลีกย่อยไปหากฎเกณฑ์ กล่าวคือ เป็นการสอนแบบย่อยไปหาส่วนรวมหรือสอนจากตัวอย่างไปหากฎเกณฑ์ หลักการ ข้อเท็จจริง หรือข้อสรุป โดยการให้นักเรียนทำการศึกษา สังเกต ทดลอง เปรียบเทียบแล้วพิจารณาค้นหาองค์ประกอบที่เหมือนกันหรือคล้ายคลึงกันจากตัวอย่างต่างๆ เพื่อนำมาเป็นข้อสรุป
ความมุ่งหมายของการสอนแบบอุปนัย : เพื่อช่วยให้นักเรียนได้ค้นพบกฎเกณฑ์หรือความจริงที่สำคัญๆ ด้วยตนเองกับให้เข้าใจความหมายและความสัมพันธ์ของความคิดต่างๆ อย่างแจ่มแจ้ง ตลอดตนกระตุ้นให้นักเรียนรู้จักการทำการสอบสวนค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง
ขั้นตอนในการสอนแบบอุปนัย
1.      ขั้นเตรียม คือ การเตรียมตัวนักเรียน เป็นการทบทวนความรู้เดิม กำหนดจุดมุ่งหมาย และอธิบายความมุ่งหมายให้นักเรียนได้เข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง
2.      ขั้นสอนหรือขั้นแสดง คือ การเสนอตัวอย่างหรือกรณีต่างๆ ให้นักเรียนได้พิจารณา เพื่อให้นักเรียนสามารถเปรียบเทียบ สรุปกฎเกณฑ์ได้ ไม่ควรเสนอเพียงตัวอย่างเดียว
3.      ขั้นเปรียบเทียบและรวบรวม เป็นขั้นหาองค์ประกอบรวม คือ การที่นักเรียนได้มีโอกาสพิจารณาความคล้ายคลึงกันขององค์ประกอบในตัวอย่างเพื่อเตรียมสรุปกฎเกณฑ์ไม่ควรรีบร้อนหรือเร่งเร้าเด็กเกินไป
4.      ขั้นสรุป คือ การนำข้อสังเกตต่างๆ จากตัวอย่างมาสรุปเป็นกฎเกณฑ์ นิยาม หลักการ หรือสูตร ด้วยตัวนักเรียนเอง
5.      ขั้นนำไปใช้ คือ ขั้นทดลองความเข้าใจของนักเรียนเกี่ยวกับกฎเกณฑ์หรือข้อสรุปที่ได้มาแล้วว่าสามารถที่จะนำไปใช้ในปัญหาหรอแบบฝึกหัดอื่นๆ ได้หรือไม่
ข้อดีและข้อจำกัด
ข้อดี
1.      จะทำให้นักเรียนเข้าใจได้อย่างแจ่มแจ้งและจำได้นาน
2.      ฝึกให้นักเรียนรู้จักคิดตามหลักตรรกศาสตร์ และหลักวิทยาศาสตร์
3.      ให้นักเรียนเข้าใจวิธีการแก้ปัญหา และรู้จักวิธีทำงานที่ถูกต้องตามหลักจิตวิทยา
ข้อจำกัด
1.      ไม่เหมาะสมที่จะใช้สอนวิชาที่มีคุณค่าทางสุนทรียะ
2.      ใช้เวลามาก อาจทำให้เด็กเกิดความเบื่อหน่าย
3.      ทำให้บรรยากาศการเรียนเป็นทางการเกินไป
4.      ครูต้องเข้าใจในเทคนิควิธีสอนแบบนี้อย่างดี จึงจะได้ผลสัมฤทธิ์ในการสอน

สรุป
การจัดการเรียนรู้แบบอุปนัย (Induction Method) คือ การสอนรายละเอียดปลีกย่อยไปหากฎเกณฑ์  หรือสอนจากตัวอย่างไปหากฎเกณฑ์ หรือกฎเกณฑ์หลักการ ข้อเท็จจริงหรือข้อสรุป โดยการนำเอาตัวอย่างข้อมูล เหตุการณ์ สถานการณ์หรือปรากฏการณ์ ที่มีหลักการแฝงอยู่มาให้ผู้เรียนศึกษา  สังเกต  ทดลอง  เปรียบเทียบหรือวิเคราะห์จนสามารถสรุปหลักการหรือกฎเกณฑ์ได้ด้วยตนเอง
ขั้นตอนในการสอนแบบอุปนัย
1. ขั้นเตรียมนักเรียน เป็นการเตรียมความรู้และแนวทางในการปฏิบัติกิจกรรมของนักเรียน
2. ขั้นเสนอตัวอย่าง ให้นักเรียนเปรียบเทียบและสรุปกฎเกณฑ์ตัวอย่างควรเสนอหลายตัวอย่าง
3. ขั้นหาองค์ประกอบรวม เป็นการให้นักเรียนมีโอกาสพิจารณาความคล้ายคลึงกันขององค์ประกอบจากตัวอย่างเพื่อเตรียมสรุปกฎเกณฑ์
4. ขั้นสรุปข้อสังเกตต่างๆ เป็นการสรุปข้อสังเกตต่างๆจากตัวอย่างเป็นกฎเกณฑ์ นิยาม หลักการ ด้วยตัวนักเรียน
 5. ขั้นนำไปใช้ เป็นขั้นนำข้อสรุปหรือกฎเกณฑ์ที่ได้จากการทดลองหรือสิ่งที่เข้าใจไปใช้ในสถานการณ์จริง
ข้อดีและข้อจำกัด
ข้อดี
1. จะทำให้นักเรียนเข้าใจได้อย่างแจ่มแจ้งและจำได้นาน
2. ฝึกให้นักเรียนรู้จักคิดตามหลักตรรกศาสตร์ และหลักวิทยาศาสตร์
3. ให้นักเรียนเข้าใจวิธีการแก้ปัญหา และรู้จักวิธีทำงานที่ถูกต้องตามหลักจิตวิทยา
ข้อจำกัด
1. ไม่เหมาะสมที่จะใช้สอนวิชาที่มีคุณค่าทางสุนทรียะ
2. ใช้เวลามาก อาจทำให้เด็กเกิดความเบื่อหน่าย
3. ทำให้บรรยากาศการเรียนเป็นทางการเกินไป
4. ครูต้องเข้าใจในเทคนิควิธีสอนแบบนี้อย่างดี จึงจะได้ผลสัมฤทธิ์ในการสอน

ที่มา
เว็ปไซต์เพื่อการเรียนรู้ของครูคณิตศาสตร์.[Online] https://sites.google.com/site/khunkrunong/1. การจัดการเรียนรู้แบบอุปนัย.สืบค้นเมื่อ 12/07/2558
http://innovation.kpru.ac.th/web18/551121827/innovation/index.php/2014-02-05-03-42-39. วิธีสอนโดยใช้การอุปนัย.สืบค้นเมื่อ 13/07/2558
UTCC Wiki.[Online] http://archimedes.utcc.ac.th/wiki/index.php/การสอนแบบอุปนัย. การสอนแบบอุปนัย.สืบค้นเมื่อ 13/07/2558

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น