วิกิพีเดีย
สารานุกรมเสรี (https://th.wikipedia.org/wiki/การเรียน) ได้ระบุความหมายของการเรียนรู้ไว้ว่า
การเรียนรู้ หมายถึง การได้รับความรู้ พฤติกรรม ทักษะ คุณค่า หรือความพึงใจ ที่เป็นสิ่งแปลกใหม่หรือปรับปรุงสิ่งที่มีอยู่
และอาจเกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์สารสนเทศชนิดต่าง ๆ
ผู้ประมวลทักษะของการเรียนรู้เป็นได้ทั้งมนุษย์ สัตว์ และเครื่องจักรบางชนิด
ความก้าวหน้าในการเรียนรู้เมื่อเทียบกับเวลามีแนวโน้มเป็นเส้นโค้งแห่งการเรียนรู้ (learning
curve)
การเรียนรู้ของมนุษย์อาจเกิดขึ้นจากส่วนหนึ่งของการศึกษา การพัฒนาส่วนบุคคล การเรียนการสอน หรือการฝึกฝน การเรียนรู้อาจมีการยึดเป้าหมายและอาจมีความจูงใจเป็นตัวช่วย
การศึกษาว่าการเรียนรู้เกิดขึ้นได้อย่างไรเป็นส่วนหนึ่งของสาขาวิชาประสาทจิตวิทยา (neuropsychology)
จิตวิทยาการศึกษา (educational
psychology) ทฤษฎีการเรียนรู้ (learning
theory) และศึกษาศาสตร์ (pedagogy) การเรียนรู้อาจทำให้เกิดพฤติกรรมการเรียนรู้ (habituation) หรือการวางเงื่อนไขแบบดั้งเดิม (classical
conditioning) ซึ่งพบในสัตว์หลายชนิด
หรือทำให้เกิดกิจกรรมที่ซับซ้อนมากขึ้นอย่างเช่นการเล่น ซึ่งพบได้เฉพาะในสัตว์ที่มีเชาวน์ปัญญา การเรียนรู้อาจก่อให้เกิดความตระหนักอย่างมีสำนึกหรือไม่มีสำนึกก็ได้
Sangsawang (http://2educationinnovation.wikispaces.com/การเรียนรู้ของมนุษย์) ได้กล่าวถึงความหมายของการเรียนรู้ไว้ว่า
การเรียนรู้ หมายถึง พัฒนาการรอบด้านของชีวิต
มีองค์ประกอบ ปัจจัย และกระบวนการที่หลากหลาย มีพลังขับเคลื่อนเชื่อมโยงสัมพันธ์กันอย่างผสมกลมกลืนได้สัดส่วน
สมดุลกัน เกิดความสมบูรณ์ของชีวิตและสังคมการเรียนรู้
มีความหมายครอบคลุมถึงขั้นตอนต่อไปนี้คือ
1. การรับรู้
(Reception) หมายถึง การที่ผู้คน “รับ”
เอาข้อมูลข่าวสารและองค์ความรู้ต่างๆ จากแหล่งความรู้ที่หลากหลาย
ซึ่งรวมทั้งแหล่งความรู้จากครูผู้สอนด้วย
2. การเข้าใจ
(Comprehension) หมายถึง
การที่ผู้เรียนสามารถมองเห็นถึงความหมายและความเชื่อมโยงสัมพันธ์กันของสิ่งต่างๆ
ที่ตนเองรับรู้จากแหล่งความรู้ที่หลากหลายในระดับที่สามารถอธิบายเชิงเหตุผลได้
3. การปรับเปลี่ยน
(Transformation) เป็นระดับของการเรียนรู้ที่แท้จริง
ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงด้านวิธีคิด (Conceptualization) การเปลี่ยนแปลงระบบคุณค่า
(Values) และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (Behavior) ในสิ่งที่รับรู้และมีความเข้าใจแล้วเป็นอย่างดี
มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์
(http://reg.ksu.ac.th/teacher/sudatip/elearning_files/data5.html) ได้รวบรวมและกล่าวถึงความหมายของการเรียนรู้ไว้ว่า
การเรียนรู้ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจากเดิมไปสู่พฤติกรรมใหม่ค่อนข้างถาวร
และพฤติกรรมใหม่นี้เป็นผลมาจากประสบการณ์หรือการฝึกฝน มิใช่ ผลจากการตอบสนองจากธรรมชาติ สัญชาตญาณ อุบัติเหตุ หรือความบังเอิญ
กระบวนการเรียนรู้ เป็นกระบวนการต่อเนื่องเชื่อมโยงจากการรับรู้
กล่าวคือ เมื่อประสาทสัมผัสกระทบสิ่งเร้าและเกิดความรู้สึกส่งไปยังสมอง สมองบันทึกความรู้สึกนั้นไว้เป็นประสบการณ์และเมื่ออวัยวะรับสัมผัสกระทบกับสิ่งเร้าเดิมอีก
สามารถระลึกได้ (Recall) หรือจำได้ (Recognition) ก็ถือว่าเกิดการเรียนรู้ขึ้น
สรุป
สรุป
จากความหมายของการเรียนรู้ที่กล่าวมานั้น
สรุปได้ว่า การเรียนรู้ หมายถึง การได้รับความรู้ พฤติกรรม ทักษะ คุณค่า หรือความพึงใจ ที่เป็นสิ่งแปลกใหม่หรือปรับปรุงจากสิ่งที่มีอยู่ ที่ทำให้เกิดความเข้าใจ
สามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ
ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจากเดิมไปสู่พฤติกรรมใหม่ มีพัฒนาการ และพฤติกรรมใหม่นี้เป็นผลมาจากประสบการณ์หรือการฝึกฝน
ซึ่งมีองค์ประกอบและกระบวนการที่หลากหลาย
โดยมีพลังขับเคลื่อนเชื่อมโยงสัมพันธ์กันอย่างผสมกลมกลืนได้สัดส่วน สมดุลกัน
ทำให้เกิดความสมบูรณ์ของชีวิตและสังคมการเรียนรู้
ที่มา
ที่มา
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี.[online] https://th.wikipedia.org/wiki/การเรียน.การเรียน.สืบค้นเมื่อ
16/06/2558.
Sangsawang.[online] http://2educationinnovation.wikispaces.com/การเรียนรู้ของมนุษย์.การเรียนรู้ของมนุษย์.สืบค้นเมื่อ
16/06/2558.
มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์.[online] http://reg.ksu.ac.th/teacher/sudatip/elearning_files/data5.html.การรับรู้และการเรียนรู้.สืบค้นเมื่อ 17/06/2558.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น